วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาชีพ Chef

อีกอาชีพหนึ่งที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานของออสเตรเลียอยู่ และเป็นที่สนใจของหลายๆคนที่อยากได้วีซ่าทำงานหรือวีซ่าถาวรของออสเตรเลีย
อาชีพทำอาหารมีทั้งกุ๊กมีทั้งเชฟ แน่นอนว่าชื่อแตกต่างกัน ย่อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบในครัวต่างกันด้วย

หน้าที่

หน้าที่ของเชฟจะแตกต่างจากกุ๊ก หลักๆจะเป็นการวางแผนและบริหารจัดการเกี่ยวกับการเตรียมและปรุงอาหารสำหรับสถานประกอบการต่างๆ ดังนี้
  • คิดเมนูอาหาร ประมาณการปริมาณอาหารที่ต้องเตรียม  คำนวณค่าแรง รวมถึงการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
  • ควบคุมคุณภาพของอาหารในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมไปจนถึงการตกแต่งจานอาหาร
  • ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการเตรียมอาหารกับผู้จัดการ นักโภชนาการและทุกคนในครัว
  • สาธิตเทคนิคในการปรุงอาหารและให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหาร
  • เตรียมและปรุงอาหาร
  • อธิบายถึงความสำคัญของสุขอนามัยและดูแลการรักษาความสะอาดในครัว
  • อาจจะต้องรับผิดชอบในการถนอมอาหารเช่นการแช่แข็ง หรือการถนอมอาหารด้วยวิธีต่างๆ
  • อาจจะมีหน้าที่เลือกพนักงานด้วย

ตำแหน่ง

การทำอาหารในครัวใหญ่ๆนั้นจะมีหลายตำแหน่ง เช่น
  • Head Chef หรือ Executive Chef หัวหน้าเชฟ มีหน้าที่หลักคือควบคุมดูแลความเรียบร้อยของการทำอาหาร ไปจนถึงการออกอาหาร รวมถึงการทำงานของทุกคนในครัว 
  • Second Chef หรือ Sous Chef เป็นตำแหน่งรองลงมา หน้าที่หลักคือเป็นผู้ช่วยเชฟใหญ่ในการทำงาน อาจจะรับผิดชอบเป็นแผนกๆไป
  • Chef de Partie หรือ Section Chef จะเป็นตำแหน่งที่มีในห้องอาหารหรือภัตตาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการคนดูแลรับผิดชอบแผนกย่อยๆลงไปอีก เช่นแผนกเตรียมผัก แผนกอบขนม แผนกย่าง เป็นต้น เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างเฉพาะทาง
  • Demi Chef – รองหัวหน้าเชฟ ที่ในแต่ละแผนกอาจจะมีรองหัวหน้าเชฟช่วยกันทำงานหลายคน
  • Commis Chef – เป็นตำแหน่งแรกสุดสำหรับอาชีพเชฟ มีหน้าที่ช่วยงานต่างๆ แต่ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญอะไรเป็นพิเศษก็ได้

คุณสมบัติส่วนตัว

  • ต้องเป็นคนที่รักความสะอาด
  • รักการทำอาหาร
  • สามารถจัดสรรเวลาได้เป็นอย่างดี
  • สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
  • มีความอดทน
  • สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้

รายได้

ร้อยละ 80 ของเชฟทั้งหมดจะมีรายได้มากกว่า$600 ต่อสัปดาห์แต่ส่วนใหญ่เชฟจะมีรายได้มากกว่า $1,000 ต่อสัปดาห์  เชฟที่ทำงาน Full-time เฉลี่ยมีรายได้เกือบ $1,000 ต่อสัปดาห์ในขณะที่เชฟที่ทำงาน Part-time จะมีรายได้เฉลี่ยเกือบ $500 ต่อสัปดาห์

วีซ่าทำงานชั่วคราว (Subclass 457) 

ถ้าต้องการสมัครวีซ่า 457 ด้วยอาชีพเชฟนี้จะต้องเรียนจบอย่างน้อยระดับ Diploma, Advanced Diploma หรือปริญญา ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานมาไม่น้อยกว่าสามปี 

วีซ่าถาวร Skille Independent (Subclass 189)

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2014 เป็นต้นไป อาชีพเชฟจะถูกบรรจุเข้าไปในรายการอาชีพที่ขาดแคลน SOL (Skilled Occupation List) ดังนั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ก็จะสามารถขอวีซ่าถาวรนี้ได้โดยไม่ต้องมีนายจ้างหรือใครเป็นสปอนเซอร์ ทั้งนี้ จะต้องเรียนจบอย่างน้อยระดับ Diploma, Advanced Diploma หรือปริญญา ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานมาไม่น้อยกว่าสามปี
                                                                         ประวัติส่วนตัว
ชื่อ จรรยพร พูลพงษ์
ชื่อเล่น  กบ
การศึกษา กำลังศึกษาระดับ ม.3
โรงเรียน วัดราชโอรส
วันเกิด วัน จันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
สัญชาติ ไทย
ที่อยู่ 60 ซ.จากสิน22 ถ.ตากสิน เขต ธนบุรี แขวง บุคคโล 10600
ศาสนา พุทธ
Email kobmonday22@gmail.com
โทรศัพท์ 0994989433
คติประจำใจ อดีตคือ จงสู้ต่อไป
งานอดิเรก เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง
อาหารที่ชอบ ข้าวผัด
สีที่ชอบ สีฟ้า

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
 
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็ 
สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า
 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ
รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ
 
 
จอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที

 

เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

 

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 

คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง

 

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

 

เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

 

ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป

 

การ์ดแสดงผล (Display Card) หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควรโดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

 

เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว

 

แรม (RAM)
เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

 

CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้
เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ

 

CD-ROM / DVD-ROM ภายในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น


 

สรุปเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

เราจะเห็นว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นแต่ละส่วนก็มีความแตกต่างกันไป และวิธีการดูแลรักษาก็แตกต่างกันออกไป  ฉะนั้นเมื่อเราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ การใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่กับเราไปนานแสนนานเลยทีเดียว
ส่วนใครที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็ควรที่จะถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเช็ดถู เป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ก็ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้
cr:https://sites.google.com/site/non537/home/swn-prakxb-khxng-khxmphiwtexr